รู้จักกับการทำ PSM

การจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต

ว่ากันด้วยเรื่องของการทำงานในองค์กรหรือบริษัทใหญ่ๆ นั้น…มีสิ่งที่ต้องทำมากกว่างานประจำหรืองานในหน้าที่หลักกันเกือบทุกท่านเลยก็ว่าได้ครับ ซึ่งการดำเนินงานในรูปแบบองค์กรที่ดี ต้องมีตัวช่วยต่างๆ หรือเครื่องมือที่ดีมาเพื่อใช้เป็นแนวคิดกันีกด้วยครับ วันนี้เราเลยจะพาทุกๆ ท่านไปรู้จักกับหนึ่งสิ่งที่เป็นกฏหมายบังคับให้ทำในแวดวงอุตสาหกรรม ซึ่งเราจะพาไป “รู้จักกับการทำ PSM” กันครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันเล้ยยย!!!!

PSM คืออะไรกันนะ

PSM หรือ Process Safety Management: PSM คือ การจัดการ ดูแล จัดหา ให้การทำงานมีความปลอดภัย และการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติการณ์ (Incident) ที่จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บ ความอันตรายต่อร่างกาย ที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการในการผลิตที่ใช้สารเคมีอันตรายร้ายแรง โดยจะเน้นไปที่การใช้มาตรการในการจัดการความปลอดภัยต่าง ๆ รวมไปถึงการอบรมให้เข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานด้านวิศวรกรรมในการชี้บ่ง วิเคราะห์ ประเมิน และควบคุมอันตรายระหว่างกระบวนการผลิต

ความสำคัญของระบบ PSM

PSM (Process Safety Management) หรือ การจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต คือ การจัดการให้เกิดความปลอดภัย การป้องกันการเกิดอุบัติการณ์และการบาดเจ็บ ที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตที่มีการใช้สารเคมีอันตรายร้ายแรง ซึ่งใช้มาตรการทางการจัดการ และพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมในการชี้บ่ง ประเมิน และควบคุมอันตรายจากกระบวนการผลิต เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายทั้งสำหรับองค์กรและแวดล้อมรอบข้างครับ

กฏหมายเกี่ยวกับ PSM ที่ควรรู้

การเข้ารับการตรวจประเมิน PSM นั้นถือเป็นข้อบังคับทางกฎหมายตั้งแต่ พ.ศ.2559 เนื่องด้วยทางคณะกรรมการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เล็งเห็นถึงอันตรายและความสูญเสียจากการทำงานในพื้นที่ปฏิบัติงานที่มีสารเคมีอันตราย จึงได้ออกมาตรการและข้อบังคับเกี่ยวกับ PSM ดังนี้

●มาตรการข้อบังคับจากคณะกรรมการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยเรื่องของหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2559

●มาตรการข้อบังคับจากคณะกรรมการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยเรื่องของหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6 พ.ศ.2563

●ประกาศจาก การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 115/2561 เรื่อง แนวทางการตรวจประเมิน PSM

●ประกาศจาก การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 34/2564 เรื่อง แนวการการตรวจประเมิน PSM ฉบับที่ 2

ประกาศจาก การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 35/2564 เรื่อง คุณสมบัติของผู้ตรวจประเมิน และการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจประเมิน PSM

ตำแหน่งสำคัญขององค์กรอย่าง จป.

จป.หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานวิชาชีพ ที่มีหน้าที่รักษา ความปลอดภัย ของระบบต่าง ๆ ในอาคาร ทั้งระบบประปา ระบบไฟฟ้า ระบบลิฟต์ หรือแม้แต่การตรวจสอบโครงสร้างอาคารว่ายังแข็งแรงดีอยู่ไหม เพื่อป้องการไม่ให้เกิดอุบัติเหตุและมีข้อกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่าสถานที่ทำงานต้องมีมาตราฐานความปลอดภัยตามข้อกำหนด ซึ่ง จป. จะเข้ามาดูแลในส่วนนี้

PSI คืออะไร

Process Safety Information (PSI) เป็น Element (ข้อกำหนด) ที่ทำให้ “รู้จักตัวเองให้ดีพอ เมื่อเรารู้จักตัวเองดีพอ เราจะเข้าใจความเสี่ยงของตัวเราเอง” โดย PSI บอกเราว่า “ความรู้พื้นฐานที่เราจะต้องรู้” ประกอบด้วย 3 หัวข้อใหญ่ๆ คือ

1. Process Safety Chemical – ข้อมูลสารเคมีที่เป็น Hazardous ในกระบวนการผลิต ยกตัวอย่าง ลูกโป่งสวรรค์ เราต้องรู้จักสาร/ก๊าซที่ใช้อัดเข้าไปในลูกโป่งสวรรค์เป็นอย่างดีก่อน

2. Process Safety Technology – ข้อมูลเทคโนโลยีการผลิต ยกตัวอย่าง ลูกโป่งสวรรค์ เราต้องรู้จักหลักในการอัดสาร/ก๊าซเข้าไปในลูกโป่งสวรรค์ หรือ สูตรลับในการอัดสาร/ก๊าซเข้าไปในลูกโป่งสวรรค์

3. Process Safety Equipment – ข้อมูลอุปกรณ์ในกระบวนผลิต ยกตัวอย่าง ลูกโป่งสรรค์ เราต้องรู้จักอุปกรณ์ที่ใช้ในการอัดสาร/ก๊าซเข้าไปในลูกสรรค์เป็นอย่าง เช่น ถังที่ใช้บรรจุก๊าซ, ท่อส่งก๊าซ ฯลฯ

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “PSM” ที่เราได้รวบรวมมาให้กับท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านกันได้อ่านกันในบทความข้างต้นนี้กันครับ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ที่ดีกันไม่มากก็น้อยกันนะครับ

About the Author

You may also like these