ภาคเหนือมีนิคมอุตสาหกรรมหรือไม่?

นิคมอุตสาหกรรมลำพูน

อุตสาหกรรม นับว่าเป็นสิ่งที่ใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจและสร้างรายได้ให้กับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานไปจนถึงเจ้าของธุรกิจ ซึ่งการที่โรงงานหรือบริษัทอุตสาหกรรมได้มารวมตัวกันตั้งเป็นสัดส่วนก็จะทำให้การจัดการ การดูแลและการสัญจรดีขึ้น ซึ่งในเรามักจะรู้จักกันชื่อ “นิคมอุตสาหกรรม” นั้นเองครับ ซึ่งปกตินิคมจะถูกตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สามารถจัดส่งสินค้าได้ดี ใกล้แหล่งวัตถุดิบหรือมีการเดินทางที่สะดวกมากที่สุดซึ่งก็มักจะตั้งอยู่ในโซนภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันตกและภาคตะวันออก เป็นส่วนใหญ่ หลายท่านก็คงจะสงสัยกันแล้วสิครับว่า “ภาคเหนือ” จะมีนิคมอุตสาหกรรมกับเค้ามั้ย บทความนี้จะพาไปหาคำตอบกันครับ

ภาคเหนือมีนิคมอุตสาหกรรมหรือไม่

คำตอบคือ “มีครับ” ซึ่งนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตั้งอยู่ตำบลบ้านกลาง และตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน  บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 69 บนทางหลวงสายที่ 11 ช่วงระหว่างลำปาง-เชียงใหม่ ระยะทางจากกรุงเทพมหานครประมาณ  680 กิโลเมตร มีพื้นที่ตามประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมประมาณ 1,788 ไร่ บริเวณพื้นที่โดยรอบนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือประกอบไปด้วย

–          ทางทิศเหนือ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ได้แก่หมู่บ้านสันปูเลย บ้านเหล่า บ้านฮ่องกอม่วง

–          ทางทิศใต้  เป็นพื้นที่เกษตรกรรม  และย่านชุมชน ได้แก่หมู่บ้านสันป่าฝ่าย บ้านสิงห์เคิ่ง บ้านร่องส้าว

–          ทางทิศตะวันออก เป็นพื้นที่เกษตรกรรมและย่านชุมชน ได้แก่หมู่บ้านขี้เหล็ก บ้านแม่ยาก บ้านหอชัย

–          ทางทิศตะวันตก เป็นพื้นที่ย่านชุมชนและที่พักอาศัย ได้แก่หมู่บ้านหนนองเป็ด ศรีบุญยืน ศรีบุญยืน-วังทอง

ระยะทางจากสถานที่สำคัญ เช่น สนามบินนานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่  ระยะทาง 30 กม.  สถานีรถไฟจังหวัดลำพูน ระยะทาง 5 กม.  ศาลากลางจังหวัดลำพูน ระยะทาง 10 กม.  และสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ 

ทำความรู้จักกับ นิคมอุตสาหกรรมลำพูน

ประวัติองค์กรการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ

          การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือขึ้นที่จังหวัดลำพูนเมื่อพ.ศ. 2526 เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520–2524) ซึ่งกำหนดให้กระจายการพัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาคต่างๆและเพื่อการพัฒนาเมืองหลักเมืองรองของภาคต่างๆตามลำดับโดยกนอ. ได้พิจารณาเห็นว่าบริเวณพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือปัจจุบันนั้นมีความเหมาะสมและมีความพร้อมด้านสาธารณูปโภคแรงงานวัตถุดิบทางการเกษตรระบบสื่อสารและการคมนาคม นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างและพัฒนาพื้นที่เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2526 และก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528 ใช้เงินทุนในการดำเนินการก่อสร้างรวมประมาณ 438 ล้านบาท

สิทธิประโยชน์ของการตั้งโรงงานหรือบริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรม

ผู้ลงทุนในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป

• การประกอบกิจการบริการต่างๆ จะสามารถดำเนินการในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปได้ กนอ. ได้อำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป โดยให้มีการบริการที่ครบวงจร และจำเป็นต่อการประกอบอุตสาหกรรม อาทิเช่น การบริการด้านขนส่ง คลังสินค้าศูนย์ฝึกอบรม สถานพยาบาล ฯลฯ โดยผู้ประกอบการจะสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปได้

2. สิทธิประโยชน์ทั่วไป (Non Tax) สำหรับผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป

• สิทธิการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม

• สิทธิในการนำช่างฝีมือต่างชาติเข้ามาทำงานและนำคู่สมรส และบุคคลในอุปการะเข้ามา และอยู่ในประเทศ • สิทธิในการส่งเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศ

ผู้ลงทุนในเขตประกอบ การเสรี

ภายใต้กฎหมาย กนอ. ฉบับล่าสุด นักลงทุนในเขตประกอบการเสรีจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และการอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น ดังนี้

1. สิทธิประโยชน์

• ผู้ประกอบการในเขตประกอบการเสรี จะได้รับสิทธิประโยชน์โดยไม่กำหนดเงื่อนไขการส่งออกสินค้าออกไปนอกราช อาณาจักร และได้รับความสะดวกมากขึ้นในการนำของหรือวัตถุดิบเข้าไปในเขตประกอบการเสรี

• ของที่นำเข้าไปในเขตประกอบการเสรี จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางอากรเพิ่มขึ้น

• ลดภาระภาษี สำหรับการนำผลิตภัณฑ์ออกจากเขตประกอบการเสรี เพื่อใช้หรือจำหน่ายในประเทศโดยที่หากวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์นั้น มีส่วนผสมหรือส่วนประกอบของวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศ ซึ่งเดิมไม่มีสิทธิ์ได้คืนหรือยกเว้นอากร ก็จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำราคาวัตถุดิบนั้น ๆ มาคิดค่าภาษีอากร

2. ความสะดวกในการประกอบการ

• อำนวยความสะดวกในการนำสินค้าและวัตถุดิบเข้ามาในประเทศและเข้าไปในเขตประกอบ การเสรี เพื่อผลิตสินค้าหรือเพื่อการค้าหรือบริการ โดยไม่ต้องระบุความเป็นเจ้าของ

• อำนวยความสะดวก ในการดำเนินการส่งออกสินค้าจากเขตประกอบการเสรีไปต่างประเทศ ด้วยการกำหนดให้การนำของหรือวัตถุดิบเข้าไปในเขตประกอบการเสรี เพื่อการผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการอื่นใด ได้รับความสะดวกมากขึ้น โดยมิต้องขอหรือมีใบอนุญาตนำเข้าและการควบคุมคุณภาพหรือมาตรฐานตามกฎหมาย อื่น ตลอดจนการประทับตราหรือเครื่องหมายใด ๆ ทั้งนี้ไม่รวมถึงกฎหมายศุลกากร

โอ้โห ข้อมูลเยอะแยะไปหมดเลยใช่มั้ยครับ เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านที่ผ่านเข้ามาอ่านในบทความนี้ครับ

About the Author

You may also like these